English Thai Welcome to our consulting company - IBEX ADVISORY Co.,Ltd.
IBEX Advisory Co.,Ltd.IBEX Advisory Co.,Ltd.IBEX Advisory Co.,Ltd.
จันทร์-ศุกร์ (8.30–17.30 น.)
ibexadvisory@gmail.com
ถ.ประเสริฐมนูกิจ จรเข้บัว ลาดพร้าว
IBEX Advisory Co.,Ltd.IBEX Advisory Co.,Ltd.IBEX Advisory Co.,Ltd.

การพัฒนาทักษะด้านกลยุทธ์ของบุคลากรในองค์กร

โดยทั่วไปแล้ว องค์กรธุรกิจจะการสื่อสาร วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ค่านิยมองค์กร และกลยุทธ์ ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบอย่างเป็นทางการ ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้เกิดจากการคิดเชิงกลยุทธ์ของคณะผู้บริหารระดับสูง (Top Management) และอนุมัติโยคณะกรรมการองค์กร (The Board of Directors)

ในบางองค์กร คณะผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้ทำหน้าที่จัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) ด้วยตนเอง ตั้งแต่กำหนดกลยุทธ์ แผนงาน งบประมาณประจำปี สื่อสารให้ทุกหน่วยงานรับไปดำเนินการ ตามติดผลการดำเนินงาน จนถึงการปรับปรุงกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการทำธุรกิจอยู่เสมอ ในขณะที่หลายองค์กรจ้างผู้มีประสบการณ์มาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งสำคัญ อาทิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านกลยุทธ์ (Chief Strategy Officer) ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ (Strategy Director) ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ (Strategy Specialist)  เพื่อสนับสนุนคณะผู้บริหารระดับสูงในการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)

นักกลยุทธ์ (Strategist) ที่สามารถทำให้องค์กรเจริญเติบโตและมีผลกำไรเป็นรูปธรรมตามเป้าหมายนั้น นอกจากมีความเข้าใจองค์กร โมเดลธุรกิจ และการแข่งขันในอุตสาหกรรมแล้ว ยังต้องใช้ทักษะหลายด้าน (Multi Skills) ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Analysis) การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) การจัดทำแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) การจัดทำงบประมาณประจำปี (Annual Budget) การสื่อสารกลยุทธ์ (Strategy Communications) การปรับโครงสร้างองค์กร (Organization Restructuring) การใช้ภาวะผู้นำ (Leadership) การควบคุมการทำงาน (Control) และการประเมินผลงาน (Performance Evaluation) มาบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนองค์กร

จากประสบการณ์ทำงานด้านกลยุทธ์มากกว่า 15 ปี ผู้เขียนมีความเห็นว่า สิ่งสำคัญที่องค์กรต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการจัดการเชิงกลยุทธ์มีประสิทธิภาพในเชิงการวางแผน การปฏิบัติงาน และการประเมินผลงาน คือ การพัฒนาทักษะด้านกลยุทธ์ให้บุคลากรที่มีศักยภาพและพร้อมจะพัฒนาตัวเองให้เป็นนักกลยุทธ์ที่มีความสามารถรอบด้าน โดยที่แนวทางการพัฒนา มีดังต่อไปนี้

  • การสรรหาผู้ที่มีความเหมาะสม (Recruitment) โดยอาจจะมาจากหน่วยงานภายในองค์กร หรือ การว่าจ้างผู้ที่มีประสบการณ์จากภายนอกองค์กร (ไม่จำเป็นต้องมาจากหน่วยงานด้านกลยุทธ์ แต่เคยมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านกลยุทธ์) เพื่อเป็นผู้นำในการจัดการเชิงกลยุทธ์ให้กับบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ในองค์กร
  • การสลับตำแหน่งงาน (Job Rotation) โดยให้สลับบุคลากรที่มีศักยภาพจากหน่วยงานอื่นขององค์กรเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานกลยุทธ์จนเกิดทักษะและย้ายกลับไปยังหน่วยงานต้นสังกัดเดิมหรือหน่วยงานอื่น ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้บุคลากรได้เรียนรู้งานด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์จากการลงมือทำจริงได้เป็นอย่างดี
  • การมอบหมายให้ร่วมโครงการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Project Participation) โดย บุคลากรที่เข้าร่วมโครงการเหล่านี้จะมีโอกาสเรียนรู้การทำงานที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กร ได้ทำงานที่แตกต่างจากงานประจำ (Busines as Usual) และอาจจะได้ทำงานร่วมกับผู้รับจ้างภายนอก (Outside Contractor) ทำให้มีมุมมองในการทำงานที่กว้างขึ้น และเกิดความเข้าใจถึงกลไลการขับเคลื่อนกลยุทธ์ได้ดีขึ้น
  • การมอบหมายให้เข้าร่วมจัดทำแผนและงบประมาณประจำปี (Annual Planning and Budget) ซึ่งถือว่าเป็นงานที่สำคัญระดับองค์กร และผู้ที่เข้าร่วมในงานนี้ จะได้เรียนรู้กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเชิงกลยุทธ์ตั้งแต่เริ่มต้น นั่นคือ การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ จนจบกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ นั้นคือ การอนุมัติแผนและงบประมาณประจำปี โดยคณะกรรมการองค์กร
  • การฝึกอบรม (Training) คือ การฝึกทักษะที่ทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ได้เรียนรู้การจัดการเชิงกลยุทธ์ไปพร้อมกันหลายหน่วยงาน โดยให้บุคลากรภายในองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญ หรือ ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก มาทำหน้าที่วิทยากรในการฝึกอบรม และการฝึกอบรมควรจะเป็นในรูปแบบผสมผสาน นั่นคือ มีการบรรยายเนื้อหา (Lecture) การฝึกปฏิบัติการ (Workshop) การใช้กรณีศึกษา (Case Study) การแชร์ประสบการณ์ (Experience Sharing) จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้และสร้างทักษะอย่างรอบด้าน

 โดย ดร.พุฒิสิทธิ์ ตั้งสิริหิรัญกุล (ดร.นนท์)

 อ้างอิง (Sources):

  • Richard Koch. (2021). Financial Times Guides to Strategy. Pearson Education, U.K.
  • Cynthia A. Montgomery. (2012). The Strategist. HarperCollins, U.K.
  • Kenichi Ohmae. (1982). The Mind of the Strategist. McGraw-Hill, Inc., U.S.A.
  • Andrew Pettigrew, Howard Thomas and Richard Whittington (editors). (2002). Handbook of Strategy and Management. London, U.K.: SAGE Publications Ltd., U.K.

Leave A Comment