English Thai Welcome to our consulting company - IBEX ADVISORY Co.,Ltd.
IBEX Advisory Co.,Ltd.IBEX Advisory Co.,Ltd.IBEX Advisory Co.,Ltd.
จันทร์-ศุกร์ (8.30–17.30 น.)
ibexadvisory@gmail.com
ถ.ประเสริฐมนูกิจ จรเข้บัว ลาดพร้าว
IBEX Advisory Co.,Ltd.IBEX Advisory Co.,Ltd.IBEX Advisory Co.,Ltd.

แนวทางการตรวจงานโรงงานประจำวัน

เมื่อพูดถึงโรงงานแล้ว ผมเชื่อว่ามีหลายคนที่ไม่เคยทำงานในธุรกิจการผลิตที่มีโรงงานขนาดใหญ่ แต่เคยเยี่ยมชมโรงงาน หรือดูจากสื่อโซเชี่ยล (Social Media) จะเข้าใจว่า การจัดการในโรงงานนั้น ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานสากล อาทิ ISO 9001, ISO 14001, ISO 45001 ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นการควบคุมเรื่องคุณภาพ ความปลอดภัย ชีวะอนามัย และสิ่งแวดล้อม อย่างเข้มงวด และครอบคลุมไปถึงเรื่องแรงงานและสิทธิมนุษยชน ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เป็นการนำเอาหลักการมาปรับใช้ในงาน ซึ่งผมคิดว่าบริษัททุกแห่งมีความตั้งใจที่จะทำให้ได้ตามมาตรฐานหรือดีกว่ามาตรฐานถ้าปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เอื้ออำนวย

แต่ในโลกความจริงแล้ว ผู้ประกอบการที่ทำโรงงานมักจะเผชิญและตัดสินใจแก้ไจปัญหาตลอด (ในหลายธุรกิจ ปัญหาเกิดรายวัน) ทั้งปัญหาเชิงการจัดการ และปัญหาการปฏิบัติการ/หน้างาน ดังนั้น การตรวจงานในโรงงานประจำวัน มีความสำคัญอย่างยิ่ง (เน้นว่าสำคัญมากและต้องทำ) สำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะตำแหน่งที่ต้องกำกับดูแลงานด้านปฏิบัติการและการผลิต (Operations and production) เพราะจะทำให้พนักงาน/ลูกจ้างรับรู้ถึงความเอาจริงเอาจังของผู้บริหารระดับสูงในการติดตามงาน และความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือในกรณีที่พนักงาน/ลูกจ้างไม่สามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาเองได้

หลักการสำคัญในการตรวจงานโรงงานประจำวัน คือ ทำงานได้ตามนโยบายและมาตรการที่บริษัทกำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งนโยบายและมาตรการเหล่านี้มักจะสอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติงานที่บริษัทได้รับการรับรองจากองค์กรภายนอก (อาทิ BVQI) และเมื่อต้องเจาะลึกลงในรายละเอียดแล้ว ทุกคนจะนึกถึงเอกสารควบคุม (Control document) ซึ่งเป็นเอกสารที่พนักงานในโรงงานจะบันทึกตรวจงานแบบ Checklist และลงนามรับรอง แต่สิ่งที่สำคัญ คือมีประเด็นอะไรบ้างที่ผู้บริหารระดับสูงต้องทราบทุกวัน ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด ต้องติตตามงาน และต้องตัดสินใจแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ หากพิจารณาระบบงานโรงงานแล้ว ประเด็นที่ต้องตรวจสอบทุกวัน คือ

  1. พนักงาน/ลูกจ้าง – ตรวจสอบว่าพนักงาน/ลูกจ้างมาปฏิบัติงานหรือไม่ และกรณีที่มาทำงานไม่ครบ ต้องเจาะลึกลงในรายละเอียดว่า ส่งผลกระทบต่อการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการทำงานของสำนักงานอย่างไร มีแนวทางแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือไม่
  2. สินค้าคงคลัง – ตรวจสอบสต็อกวัตถุดิบ งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูปในโกดัง รวมถึงตรวจสอบสินค้า/วัสดุสิ้นเปลืองในห้องสโตร์ ว่าได้ปริมาณถูกต้องตามที่รายงานในบัญชี และคุณภาพได้มาตรฐานที่ลูกค้าสั่งผลิต รวมถึงการหีบห่อเป็นระเบียบเรียบร้อยหรือไม่
  3. การจัดการ 5 ส. – ตรวจสอบความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นสำนักงาน เครื่องจักร โกดัง ระบบบำบัดสิ่งปฏิกูล การจัดเก็บเครื่องมืออุปกรณ์ พื้นที่ในอาคารโรงงาน พื้นที่ในเขตโรงงาน
  4. การซ่อมบำรุง – ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องจักร ยานพาหนะ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในโรงงาน และงานซ่อมบำรุงที่กำลังดำเนินการ งานซ่อมบำรุงตามรอบปกติ งานซ่อมบำรุงรอบใหญ่ รวมถึงการสั่งซื้ออะไหล่และชิ้นส่วน
  5. ความปลอดภัย – ตรวจสอบการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานและดูระดับความรุนแรง ความพร้อมของระบบและอุปกรณ์ดับเพลิง ตรวจสอบว่าพนักงาน/ลูกจ้างใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยในขณะที่ทำงานกับเครื่องจักร ยานพาหนะ และอุปกรณ์ในโรงงานหรือไม่
  6. การจัดการสิ่งแวดล้อม – ตรวจสอบการจัดการมลพิษที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต (อาทิ กลิ่นเหม็น เสียงดัง ฝุ่นและควันพิษ น้ำเสีย ขยะอันตราย) เพื่อดูว่าเป็นไปได้ตามมาตรฐานหรือไม่ ถ้าไม่ได้ตามาตรฐานมีแผนงาน/โครงการแก้ไขหรือไม่ มีเรื่องร้องเรียนจากชุมชนและองค์กรภายนอกหรือไม่
  7. การควบคุมคุณภาพ – ตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานควบคุมคุณภาพว่าทำงานตามขั้นตอนหรือไม่ ตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบ การควบคุมการผลิต การตรวจคุณภาพผลผลิตและยอมรับให้เป็นสินค้าพร้อมขาย ไปจนถึงการบรรจุหีบห่อและส่งออกสินค้า
  8. การจัดการต้นทุนและรายได้ – ตรวจสอบว่าต้นทุนการทำกิจกรรมการผลิตและจัดการสำนักงานในโรงงานเป็นไปตามเป้าหมายกำหนดไว้หรือไม่ และกรณีที่ไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายต้องแสดงสาเหตุ และในส่วนของรายได้ใช้หลักการเดียวกัน คือ รายได้จากการขายสินค้าแต่ละรายการเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ และหาสาเหตุกรณีที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และต้องสอบทานข้อมูลกับฝ่ายการตลาดด้วยเสมอ      

ซึ่งที่กล่าวทั้งหมดนี้ ครอบคลุมภารกิจหลักที่โรงงานรับผิดชอบ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมที่หลากหลายได้

โดย ดร.พุฒิสิทธิ์ ตั้งสิริหิรัญกุล (ดร.นนท์)

 อ้างอิง (Sources):

  • Anon (2011). Business: The Ultimate Resource. 3rd A & C Black Publishers, U.K.
  • Anon (2015). How Business Works: A Graphic Guide to Business Success. Penguin Random House, U.K.

 

Leave A Comment